top of page

นักกีฬาทีมชาติไปสอนรักบี้ให้เด็กยากจน เป็นหนึ่งในวิธีที่แมนเดลาใช้เชื่อมความสัมพันธ์ของคนผิวขาว และคนผิวสี

ฉากในหนัง (ปี 2009)

เทียบกับรูปจริง เมื่อปี 1995

Invictus -- เรื่องจริงของผู้นำ "ตัวจริง"

8 Dec 2013

อยากจะแนะนำหนังดีๆ ที่อยากให้ดูในช่วงสถานการณ์แห่งความขัดแย้งและความเกลียดชังนี้

 

เป็นเรื่องจริงของอดีตประธานธิบดีประเทศแอฟริกาใต้ เนลสัน แมนเดลา

          หนังเปิดเรื่องด้วยฉากคนผิวขาวเล่นรักบี้ในสนามเขียวชอุ่ม มีรั้วรอบขอบชิด คนเล่นดูตัวหนาๆ กล้ามๆ มีเสื้อทีม แลดูมีอันจะกิน ส่วนอีกฝั่งถนนเป็นสนามดิน รั้วลวดหนามพังๆ มีแต่เด็กผิวดำผอมแห้ง ใส่เสื้อเก่าขาดๆ เตะฟุตบอลฝุ่นฟุ้ง...

          นี่ทำให้เราได้เห็นภาพความเป็นอยู่ที่แตกต่างอย่างชัดเจน และทำให้เข้าใจว่าทำไมคนผิวดำที่นั่นถึงได้โกรธแค้นคนผิวขาวมากนัก มองว่าคนผิวขาวกดขี่พวกเขา จนถึงขนาดเรียกว่า "เป็นพวกที่จับอาวุธมาตั้งแต่เกิด" (ถ้าไปดูประวัติศาสตร์สงครามกลางเมืองแอฟริกาใต้ ก็คงเข้าใจได้ดีขึ้น)

          พอแมนเดลาขึ้นมาเป็นประธานาธิบดี คนผิวขาวก็หวาดกลัวว่าตัวเองจะถูกแก้แค้นจากประธานธิบดีผิวสีคนนี้รึเปล่า..

..................................................................................................................................................

          กีฬารักบี้ เป็นกีฬาที่นิยมมากในหมู่คนผิวขาวในขณะนั้น แล้วก็บ้าทีมรักบี้ของตัวเองมากๆ นักกีฬาในทีมมีแต่คนผิวขาว มีคนผิวดำแค่คนเดียว ขณะที่คนผิวดำนิยมเล่นฟุตบอล แล้วก็รังเกียจทีมรักบี้ทีมชาติแอฟริกาใต้สุดๆ ถึงขนาดเด็กๆ ที่ยากจนไม่ยอมรับบริจาคเสื้อทีมรักบี้ทีมนี้ ถึงขนาดคนผิวดำไชโยโห่หิ้วตอนทีมชาติอื่นยิงประตูทีมชาติตัวเอง

          เป็นถึงขนาดนี้!

          ...กีฬารักบี้ เป็นสัญลักษณ์ของการกดขี่ของคนผิวขาว...

          เรื่องมันมีอยู่ว่า ทีมรักบี้นี้มันห่วยมาก ผลงานไม่ดีมาหลายปีแล้ว เมื่อคนผิวดำขึ้นมามีอำนาจ ก็พยายามปรับเปลี่ยนทีมให้ดีขึ้น ทางบอร์ดคณะกรรมการ(ที่มีแต่คนผิวดำ) พยายามจะเปลี่ยนแบบยกเครื่อง ถึงขนาดเปลี่ยนชื่อทีม เปลี่ยนสี เปลี่ยนสัญลักษณ์ แบบว่าเย้ยพวกผิวขาวสุดๆ

          ประธานาธิบดีเนลสัน แมนเดลา รู้ข่าวนี้ รีบไปบึ่งไปที่ประชุมเพื่อยับยั้งการลงมติทันที....  มีแต่คนถามว่า เฮ้ย ทำไมล่ะท่าน ก็มันห่วยหนิ (จัดการปฏิรูปมันเลยท่าน ถึงเวลาจะเอาคืนละท่าน ทำไมล่ะ ทำไมมมม)
          เลขาฯ ก็ถามว่า ท่านจะสนใจกีฬารักบี้ มากกว่าเรื่องการเมืองหรือ ถึงต้องลงทุนขนาดนี้ ประธานาธิบดี ให้เหตุผลเดียวว่า "นี่ไม่ใช่เวลาของการแก้แค้น" และขอให้ใช้ชื่อ สี สัญลักษณ์ของทีมตามเดิม

..................................................................................................................................................

          แมนเดล่าเคยถูกจำคุกเนื่องจากความผิดทางการเมือง (ที่เรียกร้องสิทธิให้แก่คนผิวดำ) เป็นเวลา 27 ปี ก่อนจะมาเป็นประธานาธิบดี และมีฐานเสีียงที่แน่นหนาจากคนผิวดำซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ ถ้าเขาจะแก้แค้น จะสั่งให้คนทั้งประเทศไปรุมกระทืบคนผิวขาวที่มีอยู่หยิบมือเดียวก็ทำได้ ง่ายๆ (แน่นอน ทำอย่างงั้นคงจะได้ชื่อว่าเป็นทรราชย์แน่ๆ) แต่สิ่งที่เขาทำคือ สร้างความเข้าใจระหว่างคนสองกลุ่ม และทำให้คนที่ไม่ได้เลือกเขา ยอมรับและสนับสนุนเขา

          หนังทั้งเรื่องเป็นเรื่องที่กลวิธีที่แมนเดลาใช้เพื่อทำให้คนผิวดำหันมา เชียร์กีฬารักบี้ และผลักดันทีมรักบี้ไปสู่สนามระดับโลก เป็นนัยยะทางการเมืองที่สำคัญมาก แมนเดลาเปลี่ยนสัญลักษณ์ของความแบ่งแยก ให้กลายเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นหนึ่งเดียวกันของชาติได้อย่างไร

          เราคิดว่า เป็นเพราะ แมนเดลา มองไปข้างหน้า มองที่ผลประโยชน์ของประเทศเป็นสำคัญ (ของประเทศจริงๆ ไม่มีแอบแฝง หรือแอบอ้าง)

          สุดท้าย ภาพที่คนแอฟริกาใต้ทั้งผิวขาวและผิวดำ ทั้งลุ้น ทั้งเชียร์ทีมชาติตัวเองในรอบชิงชนะเลิศ World Cup แบบสุดใจขาดดิ้น มันเป็นสิ่งที่พิสูจน์อุดมการณ์ของแมนเดล่าได้เป็นอย่างดี

          ความขัดแย้ง ความโกรธแค้น ไม่อาจลบล้างได้ด้วยการแก้แค้นเอาคืน

..................................................................................................................................................

          สถานการณ์ของเราตอนนี้ เราต้องการผู้นำที่ใจกว้าง เมื่อขึ้นมามีอำนาจแล้ว ไม่ชี้หน้าด่าฝ่ายตรงข้าม ไม่พยายามปลุกปั่นคนของตัวเองให้เกลียดฝ่ายตรงข้าม ไม่พยายามแก้แค้นฝ่ายที่เคยทำให้ตัวเองเดือดร้อน

          น่าเสียใจ ยังไม่เห็นใครสักคนในตอนนี้ ที่เป็นอย่างนั้นเลย.

          [คัดลอกจากเฟสบุ๊กส่วนตัว เนื่องในโอกาสครบรอบวันถึงแก่กรรมของ ประธานาธิบดีเนลสัน แมนเดลา]

feel free to comment & Share. =]

Featured Posts

© 2014 by U-lacha Proudly created with Wix.com

  • Facebook B&W
  • Twitter B&W
  • Instagram B&W
bottom of page